Green Building Certification

WHAT IS LEED

“อาคารเขียว” คือ อาคารที่คำนึงถึงการประหยัดพลังงาน การรักษาและพัฒนาพื้นที่รอบข้าง การประหยัดน้ำ การเลือกใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และคำนึงถึงสภาวะอยู่สบายของผู้ใช้อาคาร ซึ่งต้องเกิดจากความร่วมมือระหว่างเจ้าของอาคาร ผู้ออกแบบ ผู้ก่อสร้าง และผู้ใช้อาคาร 


​​​​​​​LEED (Leadership in Energy and Environmental Design: LEED)  คือ มาตรฐานอาคารเขียวเพื่อความเป็นผู้นำด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม ซึ่งก่อตั้งโดยสถาบัน U.S. Green Building Council (USGBC) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้อาคารใช้ทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 




LEED CRITERIA

หลักเกณฑ์พิจารณาเพื่อประเมินระดับการรับรองของ LEED* (*ตามหลักการของ LEED Version 4) 



1. ที่ตั้งและการคมนาคมขนส่ง
ลดการใช้พาหนะส่วนตัวในการเดินทาง การบริหารจัดการที่จอดรถอย่างมีประสิทธิภาพ

2. การใช้ประโยชน์จากที่ตั้งอย่างยั่งยืน (SS)
การสร้างผลกระทบต่อที่ตั้งอาคารต่ำ เพิ่มพื้นที่เปิดโล่งสีเขียว ลดการเกิดน้ำท่วมล้น ลดปรากฎการณ์เมืองร้อน และลดการก่อมลภาวะทางแสง

3. ประสิทธิภาพการใช้น้ำ (WE)
ประสิทธิภาพการใช้น้ำนั้นครอบคลุมการลดปริมาณการใช้น้ำในพื้นที่ใช้สอย ชักโครกและโถปัสสาวะให้เหลือน้อยที่สุด นอกจากนี้ยังรวมถึงการลดการใช้น้ำทั้งหมดภายในอาคารอีกด้วย

4. พลังงานและบรรยากาศ (EA)
โดยเกณฑ์การวัดจะรวมถึงการลดการใช้พลังงาน การสนับสนุนการใช้พลังงานหมุนเวียน การสร้างการวัดการใช้พลังงานอย่างเป็นระบบ การใช้สารเคมีทำความเย็นต่ำ การซื้อพลังงานไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าที่ได้รับการรับรองการใช้พลังงานหมุนเวียน

5. วัสดุและทรัพยากร (MR) 
การเลือกใช้วัสดุและทรัพยาการในการก่อสร้าง คือ มีการเตรียมพื้นที่คัดแยกขยะเพื่อการรีไซเคิล การนำอาคารหรือองค์ประกอบของอาคารมาใช้ใหม่ การลดขยะจากการก่อสร้าง การใช้วัสดุรีไซเคิล การใช้วัสดุพื้นถิ่น การใช้วัสดุปลูกทดแทนได้เร็ว และ การใช้ไม้ที่ผ่านการรับรองว่ามาจากป่าทดแทนที่มีการรับรอง 

6. คุณภาพสภาพแวดล้อมภายในอาคาร (IEQ)
คือ การควบคุมสภาวะอากาศภายในอาคารเพื่อสภาวะอยู่สบายและสุขภาพที่ดีของผู้ใช้อาคาร โดยพิจารณาในเรื่องการระบายอากาศ การดำเนินการจัดการกับมลภาวะทางอากาศที่อาจจะเกิดขึ้นทั้งในระหว่างการก่อสร้างและระหว่างการใช้งานอาคาร การเลือกใช้วัสดุที่มีสารระเหยที่เป็นพิษต่ำ การส่งเสริมสภาวะอยู่สบายที่ผู้ใช้อาคารสามารถควบคุมได้เอง การใช้แสงธรรมชาติและการออกแบบอาคารให้มองเห็นบรรยากาศภายนอก รวมถึงการป้องกันการเกิดเชื้อราที่อาจจะเกิดขึ้นด้วย 

7. นวัตกรรมในการออกแบบ (IN)
เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดการออกแบบอาคารด้วยรูปแบบใหม่ และการมีวิธีการหรือหลักเกณฑ์ใหม่ๆ มาใช้ในการทำอาคารที่ยั่งยืน (Sustainable Building) ทำได้โดยการนำวิธีการหรือผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีกำหนดในมาตรฐานมาใช้ รวมถึงการทำได้มากกว่าที่เกณฑ์กำหนด และการมี LEED AP เป็นสมาชิกในทีมด้วย 

8. ลำดับความสำคัญของท้องถิ่น (RP)
ประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมมีความเฉพาะตัวแตกต่างกันไปในแต่ละท้องที่ ดังนั้นอาสาสมัครจาก USGBC และ LEED ซึ่งเป็นองค์กรด้านอุตสาหกรรมการก่อสร้างและออกแบบอาคารจึงได้กำหนดกฎเกณฑ์และคะแนนที่ให้ต่อการแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมนั้นให้มีความสอดคล้องตามแต่ละพื้นที่ โดยคะแนนที่ปรับให้สอดคล้องกับท้องถิ่นเหลานี้เองจะช่วยให้ผู้ดำเนินโครงการนั้นสามารถมุ่งเน้นแก้ปัญหาของชุมชนของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ 



Intro to LEED Type of Certification



Intro to LEED v4.1 Categories




TREES

TREES - NC (Thai’s Rating of Energy and Environmental Sustainability – for New Construction and Major Renovation) คู่มือประเมินความยั่งยืนทางพลังงานและสิ่งแวดล้อมไทย สำหรับการก่อสร้างและการปรับปรุงโครงการใหม่ จัดทำโดยสถาบันอาคารเขียวไทย (Thai Green Building Institute) TGBI ด้วยความร่วมมือระหว่าง วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ 


Criteria to assess the level of certification of TREES : 
     – Building Management
     – Site and Landscape
     – Water Conservation
     – Energy and Atmosphere 
     – Materials and Resources
     – Indoor Environmental Quality
     – Environmental Protection
     – Green Innovation 



Trees criteria



1. การบริหารจัดการอาคาร 
มีการแสดงเจตนารมณ์ในการสร้างอาคารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไม่สร้างมลพิษให้กับบริบทโดยรอบ มีการกำหนดแนวทางการดำเนินการทั้งในส่วนของการก่อสร้างและการใช้งาน การวางแผนการบริหารจัดการและบำรุงรักษาอาคารอย่างเหมาะสมและการตรวจสอบและประเมินตลอดช่วงอายุการใช้งานของอาคาร

2. ผังบริเวณและภูมิทัศน์ 
การเลือกพื้นที่ก่อสร้างและการพัฒนาพื้นที่ก่อสร้างอย่างเหมาะสมเป็นกระบวนการขั้นแรกที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการก่อสร้างอาคารใหม่ ในหัวข้อนี้เน้นการคำนึงถึง การหลีกเลี่ยง และการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยการออกแบบวางผังอาคาร การออกแบบและก่อสร้างภูมิทัศน์และพื้นที่ภายนอกอาคาร การเลือกวัสดุและวัสดุพืชพันธุ์ที่เหมาะสมกับพื้นที่ โดยคำนึงถึงผลระยะยาวเพื่อความยั่งยืนของโครงการ

3. การประหยัดน้ำ
การประหยัดน้ำประปาและการใช้น้ำประปาอย่างมีประสิทธิภาพเป็นหนทางหนึ่งที่สามารถช่วยปัญหาการขาดแคลนน้ำในอนาคต การเลือกใช้สุขภัณฑ์และก๊อกน้ำประหยัดน้ำ หรือผลิตภัณฑ์ฉลากเขียวทดแทนการใช้ผลิตภัณฑ์แบบทั่วไปจะช่วยลดการใช้น้ำประปาลงได้อย่างมีนัยสำคัญ รวมถึงการกักเก็บน้ำฝนเพื่อใช้ในบางส่วนของโครงการเพื่อทดแทนน้ำประปา และ การติดตั้งมาตรวัดน้ำย่อย ก็ช่วยให้การบริหารจัดการน้ำเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 

4. พลังงานและบรรยากาศ
ครอบคลุมประสิทธิภาพการใช้พลังงานในอาคาร, ส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนประเภทต่างๆ ภายในพื้นที่โครงการ และการเลือกใช้สารทำความเย็นในระบบปรับอากาศเป็นต้น 

5. วัสดุและทรัพยากร 
ส่งเสริมให้มีการจัดการขยะให้ที่เหมาะสม นอกจากนี้ยังมีการส่งเสริมการใช้วัสดุที่มีส่วนผสมของวัสดุรีไซเคิล ลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ส่งเสริมการใช้สินค้าที่ผลิตในประเทศ และส่งเสริมการใช้ฉลากสิ่งแวดล้อมต่างๆ อีกด้วย 

6. คุณภาพสภาพแวดล้อมภายในอาคาร
ส่งเสริมให้เกิดสภาพแวดล้อมที่ดี ส่งเสริมคุณภาพชีวิต ทั้งทางด้าน สภาวะน่าสบาย แสงธรรมชาติ และส่งเสริมการเห็นทัศนียภาพนอกอาคาร ตลอดจนคุณภาพอากาศภายในอาคารที่ดี เลือกใช้ระบบอาคารที่เหมาะสม การเลือกใช้วัสดุที่มีคุณภาพไม่มีการปล่อยสารเคมีที่เป็นอันตราย

7. การป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 
เกี่ยวข้องกับมาตรการป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของโครงการก่อสร้าง ตั้งแต่เริ่มกระบวนการออกแบบและก่อสร้าง เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบระยะยาวต่อระบนิเวศวิทยา และสุขภาวะและสุขภาพของมนุษย์ 

8. นวัตกรรม 
หมวดนวัตกรรม เป็นหมวดที่เปิดโอกาสให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับอาคารที่เข้าร่วมประเมินได้นำเสนอหัวข้อคะแนนที่เหมาะกับโครงการของตน เพื่อทำคะแนนในหมวดนี้ นอกจากนี้การทำคะแนนในหมวด GI ยังสามารถทำได้ด้วยการทำคะแนนพิเศษตามที่ระบุไว้ในแต่ละหัวข้อคะแนน โดยคะแนนพิเศษเหล่านี้จะทำได้เมื่อสามารถแสดงประสิทธิภาพตามหมวดต่างๆ เกินกว่าที่ระบุไว้ระดับหนึ่ง 

TYPE OF TREES

TREES ได้แบ่งประเภทของการรับรองอาคารและสิ่งก่อสร้างออกเป็นประเภทต่างๆ ได้แก่ 
1. New Construction and Major Renovation And Core and Shell Building (TREES-NC & TREES-CS) 
2. Existing Building : Operation and Maintenance (TREES-EB) 
TREES มีการรับรองคุณภาพ 4 ระดับ หากระดับการรับรองคุณภาพยิ่งสูง อาคารจะยิ่งมีประสิทธิภาพมากและยั่งยืนยิ่งขึ้นด้วยเช่นกัน  


คะแนนการรับรองของ TREES NC & CS เป็นดังนี้คือ (คะแนนเต็ม 85 คะแนน) 

DGNB

DGNB Certification คือ มาตรฐานอาคารเพื่อความยั่งยืนชั้นนำจากสถาบัน  DGNB e.V. German Sustainable Building Council - Deutsche Gesellschaft für Nachhaltiges Bauen ประเทศเยอรมัน
โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะส่งเสริมให้อาคารก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งในด้านสิ่งแวดล้อม, ในด้านความเป็นอยู่อาศัย และค่าใช้จ่ายในการสร้างและบริหารจัดการอาคารตลอดอายุของอาคาร

โดยมาตรฐาน DGNB นั้นจะเน้นหลักการในการทำได้จริงและวัดผลได้ สามารถใช้งานได้กับอาคารเก่าและอาคารใหม่ มีระดับในการยื่นขอรับรองได้ 3 ระดับ ได้แก่
ระดับ Platinum, Gold, และ Silver 

            Change Password Change Password link-social signin-popupnew downloadplan-popupnew