Well-Being Certification

มาตรฐาน Fitwel คืออะไร (What is the Fitwel Standard?)

  • ​​​​​​​มาตรฐาน Fitwel เป็นมาตรฐานอาคารเพื่อสุขภาวะที่ดีของผู้ใช้อาคารระดับสากล ก่อตั้งโดยกรมควบคุมโรคสหรัฐอเมริกา (CDC) และดำเนินการโดย Center for Active Design (CfAD) ซึ่งเป็นองค์กรตรวจประเมินและจัดอันดับอาคารเพื่อคุณภาพชีวิตผู้ใช้งาน โดยเป้าหมายที่จะสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อสุขภาวะที่ดีของผู้ใช้งาน เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อซึ่งเป็นสาเหตุของความเจ็บป่วยและเสียชีวิตของคนทั่วโลก ซึ่งไม่เพียงแค่ส่งผลกับสุขภาพของบุคคล แต่ยังมีผลกระทบด้านเศรษฐศาสตร์จากประสิทธิภาพการทำงานไม่เต็มที่ และค่าใช้จ่ายในการดูแลความเจ็บป่วยในองค์กร โดยมาตรฐาน Fitwel สามารถนำไปใช้ได้ทั้งกับอาคารเก่าและงานอาคารก่อสร้างใหม่


  • ​​​​​​​Vision : Fitwel มุ่งมั่นเพื่อสร้างอนาคตที่ยั่งยืนกว่าด้วยการเพิ่มศักยภาพให้ทุกอาคารสามารถเสริมสร้างสุขภาวะของผู้อาศัยตลอดจนพลานามัยที่ดีของชุมชน

วิธีการประเมินของ FITWEL

Fitwel มองและจัดการสุขภาวะในฐานะที่เป็นระบบที่มีความเชื่อมโยงและสัมพันธ์กันโดยไม่มีปัจจัยใดมีความโดดเด่นกว่าหรือมุ่งเน้นไปที่ด้านใดด้านหนึ่งเป็นพิเศษ ตลอดจนวิธีการต่าง ๆ ที่ใช้ต้องเป็นไปด้วยความสมัครใจและไม่มีเงื่อนไขบางประการเป็นตัวกำหนดแต่อย่างใด


กลยุทธ์เพื่อส่งเสริมสุขภาวะ 7 ด้านของ FITWEL : (Fitwel’s Seven Health Impact Categories)




ส่งเสริมสุขภาวะของชุมชนที่อยู่โดยรอบ (Impacts Surrounding Community Health) 
กลยุทธ์ที่ส่งเสริมสุขภาวะของชุมชนโดยรอบจะสร้างประโยชน์ให้กับบุคคลอื่นนอกเหนือจากผู้พักอาศัยและใช้งานอาคารได้อีกด้วย โดยจะเพิ่มสุขภาวะที่ดีของผู้ที่อาศัย ทำงาน เล่น หรือเรียนรู้ในละแวกใกล้เคียง

ลดความเจ็บป่วยและการขาดงาน (Reduces Morbidity and Absenteeism)
กลยุทธ์ที่ลดความเจ็บป่วยและการขาดงานได้จะช่วยลดอัตราการเจ็บป่วยที่เกิดจากโรคเรื้อรังและปัญหาสุขภาพจิต ลดการแพร่กระจายโรค และตลอดจนลดจำนวนวันขาดงานให้น้อยลง

สนับสนุนความเสมอภาคทางสังคมให้กับประชากรกลุ่มเปราะบาง (Supports Social Equity for Vulnerable Populations)
กลยุทธ์ที่สนับสนุนความเสมอภาคทางสังคมให้กับประชากรกลุ่มเปราะบางจะช่วยให้คนกลุ่มต่าง ๆ อันรวมถึงเด็ก ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ตลอดจนผู้ขาดโอกาสทางเศรษฐกิจและสังคมสามารถเข้าถึงโอกาสและบริการต่าง ๆ ด้านการส่งเสริมสุขภาวะผ่านอารยสถาปัตย์ แรงจูงใจด้านราคา สาธารณูปโภคเฉพาะกลุ่ม หรือสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อคนเดินเท้าเป็นพิเศษ

ปลูกฝังแนวคิดเกี่ยวกับสุขภาวะที่ดี (Instills Feelings of Well-Being)
กลยุทธ์ที่ปลูกฝังแนวคิดเกี่ยวกับสุขภาวะที่ดีจะช่วยส่งเสริมการเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ความผ่อนคลาย และแนวคิดด้านความปลอดภัยผ่านการจัดสรรพื้นที่ที่สะอาดและเสริมสร้างพลานามัย การอยู่ร่วมกับธรรมชาติที่มากขึ้น ตลอดจนการเข้าถึงโอกาสการมีส่วนร่วมทางสังคม

เพิ่มโอกาสการเข้าถึงอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ (Enhances Access to Healthy Foods)
กลยุทธ์ที่เพิ่มโอกาสการเข้าถึงอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพจะช่วยให้ผู้อยู่อาศัยสามารถบริโภคผลไม้ ผัก และอาหารอื่น ๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายได้มากขึ้นผ่านการเพิ่มช่องทางและอาหารต่าง ๆ ให้มีความหลากหลาย การส่งเสริมการบริโภคอาหารที่ดีสุขภาพมากกว่า ตลอดจนลดรายจ่ายสำหรับอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงกว่าผ่านแรงจูงใจด้านราคา 

เสริมสร้างความปลอดภัยให้กับผู้พักอาศัย (Promotes Occupant Safety)
กลยุทธ์ที่เสริมสร้างความปลอดภัยให้กับผู้พักอาศัยจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการก่ออาชญากรรมและการบาดเจ็บ ป้องกันผู้ใช้จักรยานและคนเดินเท้าไม่ให้ได้รับอันตรายจากยานพาหนะอื่น ๆ ที่สัญจรไปมา รวมถึงเพิ่มความปลอดภัยของบันไดขึ้นลงอาคาร

เพิ่มการเคลื่อนไหวของร่างกาย (Increase Physical Activity) 
กลยุทธ์ที่เพิ่มการเคลื่อนไหวของร่างกายจะช่วยผนวกโอกาสในการเคลื่อนไหวร่างกายเข้ากับการใช้ชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการส่งเสริมการเดินทางด้วยกำลังตนเอง การใช้บันได ตลอดจนการเพิ่มช่องทางการเข้าถึงสถานที่และอุปกรณ์ออกกำลังกายต่าง ๆ ทั้งกลางแจ้งและในร่ม 


หลักเกณฑ์ในการประเมินผลของ fitwel (fitwel scorecard)

ได้รวบรวมแนวทางการออกแบบไว้มากกว่า 55 วิธี ซึ่งทั้งหมดนั้นอิงหลักฐานตามหลักการออกแบบอาคารและการบริหารจัดการอาคารที่ช่วยยกระดับสมรรถนะของอาคารในการปรับแก้พฤติกรรมและลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่มีผลต่อสุขภาพ ซึ่งหลักเกณฑ์ต่างๆที่นำมาใช้นั้นเป็นผลมาจากการรวบรวมและวิเคราะห์ผลงานวิจัยจากสถาบันชั้นนำต่างๆกว่า 5,600 ฉบับ



แนวทางในการขอรับรองมาตรฐาน Fitwel

  • แนวทางที่ใช้กับการก่อสร้างใหม่ (New Construction Pathway)

แนวทางนี้ใช้ได้กับโครงการที่อยู่ระหว่างออกแบบหรือก่อสร้างและมีการรับรองมาตรฐาน 2 แบบคือ การรับรองมาตรฐานการออกแบบ (ก่อนใช้งาน) และมาตรฐานอาคารที่สร้างเสร็จแล้ว (หลังใช้งาน)

  • แนวทางที่ใช้กับอาคารที่มีอยู่เดิม (Existing Building Pathway)

แนวทางนี้ใช้ได้กับโครงการที่อาคารมีการใช้งานแล้วทุกชนิด ซึ่งรวมถึงอาคารที่มีอยู่เดิมหรือก่อสร้างเสร็จมาไม่นานด้วย และมีการรับรองมาตรฐาน 1 แบบคือ อาคารที่สร้างเสร็จแล้ว


Project Timeline

WELL CERTIFICATION

อาคารมาตรฐาน WELL
WELL Certification, the premier standard for buildings, interior spaces and communities seeking to implement, validate and measure features for advance human health and wellness from The International WELL Building Institute (IWBI), The United States of America concerning in 7 categories: Air, Water, Nourishment, Light, Fitness, Comfort & Mind

มาตรฐาน WELL Certification ที่คำนึงถึงสุขภาวะและความเป็นอยู่ที่ดีของผู้อาศัย โดย The International WELL Building Institute (IWBI) ประเทศสหรัฐอเมริกา ภายใต้แนวคิดสำคัญ 7 ข้อ ได้แก่ อากาศ น้ำ สาธารณูปโภค แสง การออกกำลังกาย สภาพแวดล้อม และจิตใจ 



Projects Reference



            Change Password Change Password link-social signin-popupnew downloadplan-popupnew