เครือข่ายความร่วมมือองค์กรธุรกิจอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน
(Circular Economy in Construction Industry: CECI)

        อุตสาหกรรมการก่อสร้างเป็นหนึ่งอุตสาหกรรมที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ตามทิศทางการพัฒนาความเจริญของประเทศ ทำให้ต้องใช้ทรัพยากรจำนวนมากในการวางแผน สร้างโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คน และในขณะเดียวกัน เศษวัสดุที่เหลือจากการก่อสร้างหรือการรื้อถอนอาคารต่างๆ ก็มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ทั้งยังจัดการได้ยาก ส่งผลให้เป็นปัญหาขยะจากการก่อสร้างตามมา

        พันธมิตรและผู้เกี่ยวข้องในธุรกิจอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยจึงได้รวมกลุ่มกันภายใต้ “เครือข่ายความร่วมมือขององค์กรธุรกิจอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy in Construction Industry- CECI)”

        โดยมีจุดมุ่งหมายในการยกระดับอุตสาหกรรมก่อสร้างสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การลดการเกิดเศษวัสดุก่อสร้าง (Material waste)  หรือการนำเศษวัสดุไปทำให้เกิดประโยชน์ เช่น การใช้ซ้ำ (Reuse) การนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle)  เป็นต้น


​​​​​​​ CECI Vision
ร่วมกันยกระดับอุตสาหกรรมก่อสร้าง สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยน Circular Economy มาประยุกต์ใช้และเพิ่มความสามารถในการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีและผลตอบแทนทางสังคม 

​​​​​​​ CECI Mission
        1. สร้างความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับ Circular Economy ที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมก่อสร้าง 
        2. ขยายเครือข่ายความร่วมมือ CECI ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ
        3. ผลักดัน และส่งเสริมให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน ทั้ง Value Chain ของอุตสาหกรรมก่อสร้าง
        4. พัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เหมาะสม โดยนำแนวคิดเรื่องการออกแบบอย่างยั่งยืน Smart Design และ Green & Clean Innovation มาประยุกต์ใช้ 
        5. สร้างมาตรฐานและระบบบริหารจัดการ การก่อสร้างผ่านแนวคิด Circular Economy



เอสซีจี ในฐานะของผู้ผลิตและจัดจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง จึงมุ่งมั่นในการผลิตสินค้าที่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติเท่าที่จำเป็น และก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนและประหยัดทรัพยากรได้ไม่ต่ำกว่า 20% ส่งผลดีต่อทั้งภาพรวมของธุรกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ รวมถึงการนำเทคโนโลยีจำลองพื้นที่ก่อสร้าง หรือ Building Information Modelling (BIM) ทำให้สามารถประมาณการณ์ปริมาณวัสดุก่อสร้างที่ต้องใช้ได้อย่างพอดี เพื่อไม่ให้เกิดขยะจากการก่อสร้างหรือเกิดน้อยที่สุด



ความร่วมมือกับพันธมิตรที่ผ่านมา


ความร่วมมือระหว่างบริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน)
และบริษัท ผลิตภัณฑ์และวัตถุก่อสร้าง จำกัด (CPAC) 


ในการนำเศษคอนกรีตที่มีส่วนผสมของซีเมนต์ เช่น ก้อนปูน แผ่นพื้น มาใช้ทดแทนวัสดุธรรมชาติในกระบวนการก่อสร้าง เพื่อเทเป็นถนนคอนกรีตในโครงการอาคารชุด คอนโดมิเนียม ช่วยลดการใช้ทรัพยากรและค่าใช้จ่ายในการกำจัดเศษคอนกรีต โดยปัจจุบันเริ่มทำโครงการแรกที่ ศุภาลัย ไพรม์ พระราม 9


ความร่วมมือระหว่างบริษัทแมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (MQDC) และธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เอสซีจี

ในการลงนามบันทึกข้อตกลง “ความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนา การสร้างมูลค่าจากวัสดุที่ไม่ใช้แล้วในงานก่อสร้าง ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy” เพื่อประสานความร่วมมือและบูรณาการองค์ความรู้ทางวิชาการ ผ่านการวิจัยและพัฒนาโดยนำวัสดุที่เหลือทิ้งจากการก่อสร้างกลับมาแปรรูปและนำกลับไปใช้ใหม่อย่างมีประสิทธิภาพ


การจัดการเศษคอนกรีตของหัวเสาเข็มจากไซด์ก่อสร้าง โดยการทดลองบดย่อยหัวเสาเข็มด้วย Mobile Crusher ในพื้นที่ก่อสร้าง เพื่อทดแทนวัสดุรองพื้นทาง (Sub-Base) 


การนำเศษคอนกรีตของหัวเสาเข็ม มาผ่านกระบวนการบดย่อย โดยการใช้เครื่อง Mobile Crusher ในบริเวณพื้นที่ก่อสร้าง ให้กลายเป็น Recycled Coarse Aggregate หรือ มวลรวมหยาบรีไซเคิลจากส่วนที่เหลือของเสาเข็มคอนกรีต ซึ่งจะนำไปใช้เป็นส่วนผสมในการทำคอนกรีตรีไซเคิล เพื่อใช้งานทดแทนวัสดุรองพื้นทาง (Sub Base) ในบริเวณพื้นที่โครงการต่อไป ถือเป็นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและลดปริมาณขยะที่เกิดจากก่อสร้าง
ปัจจุบันได้มีความร่วมมือกับองค์กรในธุรกิจอุตสาหกรรมก่อสร้างในการจัดการคอนกรีตเหลือจากไซด์ก่อสร้าง เช่น 
บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด  (MQDC) โครงการเดอะ ฟอเรสเทียส์ 
บริษัท TCC Asset โครงการ ONE Bangkok 
บริษัท ไทยโอบายาชิ  โครงการ O-Nes Tower 
บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด โครงการ เซ็นทรัลศรีราชา



            Change Password Change Password link-social signin-popupnew downloadplan-popupnew