
สร้างรายได้ให้เกษตรกร
ปัญหาการเผาไร่นับวันทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบต่อสภาวะโลกร้อน และก่อให้เกิดฝุ่น PM2.5 โครงการความร่วมมือในการจัดการกับปัญหานี้อย่างเร่งด่วนจึงถือกำเนิดขึ้น เพื่อลดปัญหาการจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ฟางข้าว ใบอ้อย และซังข้าวโพด รวมถึงลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)
จุดเริ่มต้นโครงการ
จากปัญหาฝุ่น PM 2.5 และภาวะโลกร้อนจากการเผาเศษวัสดุเหลือใช้ทางเกษตร เช่น ยอดและใบอ้อย ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จึงเป็นที่มาของความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน และชุมชน ในการสนับสนุนและผลักดันเชิงนโยบายเพื่อลดการเผายอดและใบอ้อยในพื้นที่เพาะปลูก อีกทั้งยังเป็นการเสริมรายได้ให้เกษตรกรโดยการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศษวัสดุที่เหลือจากการเก็บเกี่ยวในไร่อ้อย เพื่อนำไปเป็นพลังงานทดแทนในอุตสาหกรรมมากขึ้นในอนาคต
การบริหารจัดการ
Smart Green Solution by CPAC ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการช่วยบรรเทาปัญหาของเกษตรกรและสิ่งแวดล้อมจากการจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรแบบไม่ถูกวิธี ผ่านการใช้ประโยชน์จากหม้อเผาปูนซีเมนต์ที่สามารถนำเศษวัสดุเหลือใช้เหล่านี้มาแปรรูปเป็นพลังงานทดแทนในการผลิตปูนซิเมนต์โดยไม่สร้างมลพิษให้กับสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับแนวคิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)
1. เปิดจุดรับซื้อเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร หน้าโรงงานซีแพค
2. ใช้เทคโนโลยีการบีบอัดเศษวัสดุที่ทันสมัยให้เป็นเม็ดพลังงานชีวมวล (Energy Pellet)
3. บริหารจัดการขนส่งเที่ยวกลับ (Backhauling Management) ของการขนส่งปูนซีเมนต์
4. นำเม็ดพลังงานชีวมวล (Energy Pellet) ไปเป็นเชื้อเพลิงทดแทนในการผลิตปูนซีเมนต์และอุตสาหกรรมอื่นๆ
บริษัท ผลิตภัณฑ์และวัตถุก่อสร้าง จำกัด หรือ CPAC ในธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง ของเอสซีจี เห็นความสำคัญในการรับผิดชอบต่อชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม จึงร่วมกับและสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดจุดรับซื้อเศษวัสดุเหลือใช้เศษอ้อยและใบอ้อยที่หน้าโรงงานปูนซีเมนต์ในจังหวัดอยุธยา สระบุรี และหน้าโรงงานคอนกรีตผสมเสร็จซีแพคในพื้นที่ปลูกอ้อย เพื่อนำไปใช้เป็นพลังงานทดแทน โดยการนำเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรจากอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด เสริมสร้างรายได้ให้เกษตรกรไทย อีกทั้งช่วยลด PM2.5 จากการเผาอ้อย อีกด้วย
เป้าหมาย : รวบรวมเศษวัสดุจากไร่อ้อยปีละ ประมาณ 120,000 ตัน เพื่อแปรรูปเป็นเชื้อเพลิงทดแทน
ระยะเวลาความร่วมมือ : ตั้งแต่ 19 กุมภาพันธ์ 2021 ถึง 31 มีนาคม 2023