Green Mining ต้นแบบเหมืองที่อยู่ร่วมกับชุมชนและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

        เหมืองสีเขียว (Green Mining) หลักการทำเหมืองของเอสซีจีด้วยแนวคิด “โรงงานอยู่ที่ไหน ป่าต้องเขียวที่นั่น” โดยได้นำแนวปฏิบัติด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนของเอสซีจี และแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)มาปรับใช้ในกระบวนการจัดการและดูแลสิ่งแวดล้อมตามข้อกำหนดกฏหมาย รวมไปถึงข้อปฎิบัติสากลเพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม

        เอสซีจี ได้พัฒนานวัตกรรมการออกแบบการทำเหมืองรูปแบบใหม่ เรียกว่า “Semi Open Cut” ที่ผสมผสานเทคนิคการทำเหมืองแบบ Open Cut (การตัดยอด) และ Open Pit (การขุดตัก) โดยจะเว้นพื้นที่ขอบเพื่อให้เป็นพื้นที่สีเขียว หรือ Buffer Zone ตลอดแนวขอบเหมือง เพื่อคงไว้ซึ่งทัศนียภาพของขอบแนวเขาตามธรรมชาติที่ยังคงสภาพป่าไม้ที่สมบูรณ์

​​​​​​​ ขั้นตอนการทำเหมือง
        เอสซีจี ได้นำประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยเข้ามาพิจารณาการทำเหมืองทุกขั้นตอน เพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินงานที่เหมาะสมต่อทั้ง ธุรกิจสิ่งแวดล้อม และสังคม โดยมีขั้นตอนดังนี้

​​​​​​​ 1.การวางแผนการทำเหมือง (Mine Planning) โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านวิศวกรรมเหมืองแร่เพื่อวางแผนการทำเหมืองทั้งในระยะยาวและระยะสั้นเพื่อให้สามารถนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ได้อย่างคุ้มค่ามากที่สุด

​​​​​​​ 2.การระเบิด (Blasting) ศึกษา ปรับปรุงรูปแบบและเทคนิคการทำเหมืองที่จะช่วยลดผลกระทบต่างๆ โดยเฉพาะด้านเสียงและแรงสั่นสะเทือนโดยพยายามปรับรูปแบบการระเบิดให้สอดคล้องกับลักษณะโครงสร้างทางธรณีวิทยาเพื่อให้การระเบิดมีประสิทธิภาพสูงสุดและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ทั้งนี้ ได้มีการกำหนดเวลาการทำเหมืองและสื่อสารให้กับชุมชนโดยรอบได้รับทราบอย่างทั่วถึง พร้อมทั้งส่งพนักงานเข้าไปสังเกตการณ์ผลกระทบที่เกิดขึ้นบริเวณชุมชนรอบเหมืองทุกครั้ง

​​​​​​​ 3.การบดย่อย (Crushing) ใช้เทคโนโลยีป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองโดยได้ออกแบบกระบวนการบดย่อยเป็นระบบปิดทั้งหมด ทั้งปากอ่างเครื่องย่อย ระบบลำเลียง จุดเปลี่ยนผ่าน และที่กองเก็บ อีกทั้ง ยังมีระบบสเปรย์น้ำและระบบกรองฝุ่น (Bag Filter)เพื่อดักจับฝุ่นไม่ให้ฟุ้งกระจายสู่ภายนอก

​​​​​​​ 4.การขนส่ง (Hauling) ได้ออกแบบผิวถนนบนเหมืองให้เกิดฝุ่นน้อยที่สุดและติดตั้งระบบสเปรย์น้ำอัตโนมัติและรถบรรทุกน้ำเพื่อฉีดพรมเส้นทางขนส่งและควบคุมความเร็วของรถทุกชนิดให้มีความเร็วไม่เกิน 30 กิโลเมตร /ชั่วโมง
นอกจากนี้ การใช้น้ำในเหมือง ใช้จากแหล่งกักเก็บน้ำฝนในโรงงานจึงไม่มีการดึงน้ำจากแหล่งทรัพยากรน้ำภายนอกโรงงานมาใช้ในกระบวนการทำเหมือง เช่น การรดถนน สเปรย์น้ำ และรดน้ำในแปลงฟื้นฟู อีกทั้งผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการทำเหมืองยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์ต่อได้อีก เช่น หินปูนที่ใช้สำหรับผลิตปูนเม็ด หินปูนสำหรับผสมในการบดซีเมนต์และหินปูนสำหรับผลิตหินก่อสร้าง

Download Infographic กระบวนการการทำเหมืองที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 
​​​​​​​


การฟื้นฟูเหมืองและอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ

        เอสซีจีมุ่งมั่นจะเป็นต้นแบบที่ดีของการดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ และเปิดกว้างให้หน่วยงานต่างๆ ได้เข้ามาศึกษาดูงานและนำองค์ความรู้ไปปรับใช้เพื่อให้สังคมมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ โดยได้ดำเนินการดังนี้

1.กำหนดกรอบแผนงานฟื้นฟูเหมือง ใช้หลักการฟื้นฟูสภาพป่าไม้ด้วยหลักวนวัฒน์วิทยาการคัดเลือกพันธุ์ไม้ท้องถิ่น หลักการพรรณไม้โครงสร้าง (Framework Species Method) ผสานกับเทคโนโลยีวิศวกรรมเหมืองแร่

2.กำหนดแผนงานด้านการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ โดยแบ่งออกเป็น 3 ระยะคือ
– ระยะที่ 1 การสำรวจและจัดทำฐานข้อมูลด้านความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity Baseline Data) ที่มีลักษณะเฉพาะของพื้นที่เป็นข้อมูลสำคัญในการกำหนดกรอบงาน
– ระยะที่ 2 การศึกษาข้อมูลเชิงลึกของพันธุ์ไม้ท้องถิ่นเพื่อจัดทำรายละเอียดของแผนการดำเนินงานเพื่อจัดเตรียมกล้าไม้ท้องถิ่นสำหรับการฟื้นฟูเหมืองพร้อมกำหนดตัวชี้วัดที่สำคัญในการวัดผลสำเร็จของโครงการ
– ระยะที่ 3 การศึกษาความสัมพันธ์ของสังคมพืชและสัตว์เพื่อนำข้อมูลมาใช้กำหนดแผนงานฟื้นฟูเหมืองให้คืนสู่ระบบนิเวศป่าไม้อย่างครบวงจรห่วงโซ่อาหาร (Biodiversity Management Plan)
– การจัดทำหนังสือการฟื้นฟูเหมืองหินปูน คณะทำงานฟื้นฟูเหมืองและความหลากหลายทางชีวภาพ เอสซีจีได้ทำงานด้านการฟื้นฟูเหมืองมาอย่างยาวนานโดยการศึกษาวิจัยและทดลองเทคนิควิธีการต่างๆ รวมทั้งร่วมมือกับหน่วยงานด้านวิชาการหลายองค์กร เช่น WWF, คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, หน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์กรมหาชน) เพื่อฟื้นฟูเหมืองอย่างเป็นระบบพร้อมกับฟื้นฟูระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพโดยได้รวบรวมองค์ความรู้ด้านการฟื้นฟูเหมืองจัดทำเป็นหนังสือ “การฟื้นฟูเหมืองหินปูน” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสรุปองค์ความรู้ของงานฟื้นฟูเหมืองและความหลากหลายทางชีวภาพรวมทั้งปัจจัยของความสำเร็จและจุดเรียนรู้สำคัญเพื่อเผยแพร่แก่หน่วยงานและผู้ที่สนใจ
​​​​​​​
Download Infographic ขั้นตอนการฟื้นฟูเหมืองและการดูแลความหลากหลายทางชีวภาพในเหมือง SCG

Download หนังสือ "การฟื้นฟูเหมืองหินปูน" เพื่ออ่านข้อมูลเพิ่มเติม

Q&A การทำเหมืองของเอสซีจี

Q : การทำเหมืองของเอสซีจี ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนหรือไม่

•    เอสซีจี มีเจตนารมณ์สูงสุดในการทำเหมืองที่ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม และรับผิดชอบต่อสังคม โดยให้ความสาคัญกับการบริหารจัดการเหมืองตั้งแต่การออกแบบเหมือง ที่สามารถป้องกันและลดผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งเวดล้อม ทุกขั้นตอนของการทำเหมืองเป็นไปตามมาตรฐานสากล และปฏิบัติตามมาตรการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด รวมทั้งฟื้นฟูพื้นที่เหมืองที่ไม่มีการทำเหมืองแล้ว ให้มีสภาพพื้นที่ใกล้เคียงกับสภาพป่าเดิม โดยร่วมกับผู้เชี่ยวชาญภายนอกมาให้คำเเนะนำ ทำให้ได้รับการยอมรับในระดับสากล

•    การดำเนินงานด้านเหมืองของเอสซีจี ได้รับรางวัล Thailand Green and Smart Mining Award 2019 จากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งถือเป็นเหมืองต้นแบบในการบริหารจัดการเหมืองที่มีธรรมาภิบาลและเป็นมิตรกับสิ่งแเวดล้อม ซึ่งจากการดูแลการทำเหมืองอย่างดี ทำให้เหมืองหินปูนทุกเหมืองของเอสซีจี ได้รับ EIA Awards ระดับยอดเยี่ยม และ Green Mining Awards มาอย่างต่อเนื่อง
​​​​​​​

Q : แนวทางการฟื้นฟูพื้นที่เหมืองของเอสซีจี

•    เอสซีจี ดำเนินการฟื้นฟูพื้นที่เหมือง โดยศึกษาร่วมกับผู้เชี่ยวชาญทางด้านวนศาสตร์ของมหาวิทยาลัยต่างๆ รวมทั้งศึกษาวิธีการฟื้นฟูสภาพพื้นที่ต่างๆ ในโครงการพระราชดาริ และศึกษาดูงานการฟื้นฟูพื้นที่เหมืองหินปูนของต่างประเทศ บริษัทฯ ได้นำความรู้มาใช้ฟื้นฟูพื้นที่เหมืองของบริษัทฯ ในบริเวณที่สิ้นสุดการทำเหมือง โดยปลูกพันธุ์ไม้ท้องถิ่น และมีการวัดผลความสาเร็จของการฟื้นฟูพื้นที่ โดยมีตัวชี้วัดต่างๆ เช่น อัตราการรอดตาย อัตราการเจริญเติบโต ของพันธุ์ไม้ เทียบกับบริเวณพื้นที่ป่าดั่งเดิม พบว่าพื้นที่ฟื้นฟูมีสภาพใกล้เคียงกัน 
​​​​​​​
•    เอสซีจี ได้นำองค์ความรู้จากการทำจริงของบริษัทฯ มาจัดทำเป็นคู่มือการฟื้นฟูเหมืองหินปูน เพื่อเผยแพร่ให้กับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้นำไปใช้และต่อยอดการฟื้นฟูเหมืองต่อไป รวมทั้งได้มีการจัดสร้าง ศูนย์เรียนรู้การฟื้นฟูเหมือง และความหลากหลายทางชีวภาพ ในทุกเหมืองหินปูนของบริษัทฯ เพื่อใช้เป็นสถานที่ศึกษาเรียนรู้การฟื้นฟูเหมืองให้กับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องอีกด้วย
​​​​​​​ 

Q : เอสซีจี มีการขออนุญาตในการทำเหมืองอย่างไร
​​​​​​​

•    เอสซีจี ได้ขออนุญาตทำเหมืองตามขั้นตอนและข้อกำหนดของทางราชการอย่างเคร่งครัด เช่นเดียวกับผู้ประกอบการทุกราย โดยทำตามกฎหมายควบคุม 2 ฉบับ คือ ประทานบัตรเหมืองแร่ จากกระทรวงอุตสาหกรรม (มีอายุสูงสุด 25 ปี) ส่วนอีกฉบับคือ หนังสือขอเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่จากกรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (มีอายุไม่เกิน 10 ปี) นอกจากนั้น เอสซีจียังได้จัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ภายหลังการทำเหมืองแร่ ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
​​​​​​​ 

            Change Password Change Password link-social signin-popupnew downloadplan-popupnew