บ้านแบบไหนเหมาะกับ Active AIRflow™ System
รอบรู้เรื่องบ้าน

บ้านแบบไหนเหมาะกับ Active AIRflow™ System

7.1K

12 มกราคม 2567

บ้านแบบไหนเหมาะกับ Active AIRflow™ System 

"บ้านที่เหมาะสมกับการติดตั้งระบบนี้ จะต้องมีความพร้อมทั้งในส่วนของรูปแบบบ้านและวัสดุที่เลือกใช้ เพื่อให้ระบบสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ"

       “Active AIRflow™ System” นวัตกรรมที่ออกแบบมาเพื่อให้เราสามารถอาศัยอยู่ในบ้านได้อย่างสบายมากขึ้น ด้วยกลไกการถ่ายเทอากาศและระบายความร้อน ด้วยการดึงความร้อนจากตัวบ้านขึ้นสู่โถงใต้หลังคา และระบายออกทางปล่องด้านบนหลังคา ซึ่งบ้านที่เหมาะจะติดตั้งระบบนี้จะต้องมีความพร้อมทั้งในส่วนของรูปแบบบ้าน ผนัง ฝ้าเพดาน และหลังคา เพื่อให้ระบบนี้สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

ภาพ: กลไลการถ่ายเทอากาศจากผนัง ผ่านโถงบันไดและฝ้าเพดานขึ้นสู่บริเวณใต้หลังคา แล้วจึงระบายออกจากตัวบ้านผ่านปล่องด้านบนหลังคา

       ประเภทบ้านที่เหมาะกับการติดตั้ง

       ระบบนี้สามารถติดตั้งได้กับทั้งบ้านเก่าและบ้านใหม่ ประเภทบ้านนั้นควรเป็นบ้านเดี่ยวที่ไม่ว่าจะสร้างเองหรือบ้านในโครงการก็สามารถติดตั้งได้ ส่วนบ้านแฝดที่สามารถติดตั้งได้คือ โครงการบ้านแฝดที่ผนังไม่ติดกัน (หากติดกันจะไม่สามารถทำได้) โดยต้องมีการตรวจสอบตามแบบและจุดติดตั้งเพื่อเช็คความเป็นไปได้ให้แน่ใจอีกครั้ง สำหรับบ้านที่ใช้ผนังร่วมกับบ้านข้างเคียง เช่น ทาวน์เฮ้าส์ อาคารพาณิชย์ ฯลฯ จะยังไม่เหมาะกับการติดตั้งระบบนี้ เพราะมีข้อจำกัดเรื่องตำแหน่งผนังในการติดตั้งอุปกรณ์ รวมถึงการวางผังภายในบ้านที่ยังไม่เอื้ออำนวยให้อุปกรณ์สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่

ภาพ: บ้านที่เหมาะสมกับการติดตั้ง Active AIRflowTM System

       วัสดุผนังที่ตอบโจทย์

       ผนังก่ออิฐฉาบปูน เช่น ผนังอิฐมอญ อิฐมวลเบา (ยกเว้นอิฐบล็อก) สามารถติดตั้งระบบนี้ได้ โดยผนังอิฐมวลเบาจะดีที่สุด เพราะมีคุณสมบัติอมความร้อนต่ำ ระบบจึงทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

       ส่วนผนังที่เป็น Precast ซึ่งเป็นระบบผนังรับน้ำหนัก สามารถทำได้เฉพาะงานโครงการที่ยังไม่ได้เริ่มก่อสร้าง โดยขอความร่วมมือกับทางโครงการในการเจาะผนัง Precast สำหรับการติดตั้ง Fresh Intake Air Grille (ช่องระบายอากาศที่ผนัง)

       ส่วนผนังคอนกรีตหล่อในที่ ซึ่งถือว่าเป็นอีกหนึ่งรูปแบบของผนังรับน้ำหนัก จะไม่สามารถซ่อมแซมหรือทุบเจาะได้ง่ายเหมือนผนังก่ออิฐฉาบปูน หากต้องการจะติดตั้งระบบนี้จึงควรวางแผนตั้งแต่ก่อนการสร้างบ้านเช่นกัน เพื่อจะได้กำหนดจุดติดตั้งที่เหมาะสม แต่สำหรับบ้านเก่าอาจต้องปรึกษาวิศวกรผู้ออกแบบว่าสามารถทำได้หรือไม่

ภาพ: ผนังบ้านที่เหมาะกับการติดตั้ง Active AIRflow™ System

รูปทรง องศาความชัน และวัสดุมุงหลังคา

รูปทรงหลังคาที่เหมาะสมจะติดตั้งระบบนี้คือ ทรงจั่ว และ ปั้นหยา ที่มีความชันหลังคาไม่ต่ำกว่า 17 องศา ส่วนหลังคารูปทรงอื่นๆ เช่น หลังคาเพิงแหงน หลังคาโดม หลังคาดาดฟ้า จะไม่เหมาะกับการติดตั้งระบบ Active AIRflow™ 

วัสดุมุงหลังคาที่เหมาะสมคือ กระเบื้องคอนกรีต เอสซีจี รุ่นลอนมาตรฐาน รุ่นเพรสทีจ และรุ่นนิวสไตล์ (ยกเว้นรุ่นนิวสไตล์ ทิมเบอร์ และ นิวสไตล์ โอเรียนทอล) รวมทั้งกระเบื้องเซรามิก เอสซีจี รุ่นเอ็กซ์เซลล่า (ยกเว้นรุ่นเอ็กซ์เซลล่า เกรซ) โดยจะเป็นการเจาะกระเบื้องจากโรงงานเพื่อติดตั้ง SRTV (Solar Roof Tile Ventilator) จึงมั่นใจได้ว่าไม่รั่วแน่นอน

ภาพ: หลังคาที่เหมาะสมกับการติดตั้ง Active AIRflow™ System

 รูปแบบ วัสดุ และลักษณะฝ้าเพดาน

รูปแบบฝ้าเพดานควรเป็นแบบฉาบเรียบขนานกับพื้น ซึ่งต้องมีพื้นที่ใต้หลังคา (พื้นที่เหนือฝ้าเพดาน) ที่เหมาะสมกับการติดตั้งชุดระบายอากาศฝ้าเพดาน (Ceiling Ventilator) และชุดระบายความร้อนในโถงหลังคา (Solar Roof Tile Ventilator) ด้วย หากเป็นฝ้าที่มีความลาดเอียง (Slope) หรือฝ้าแบบทีบาร์จะไม่สามารถติดตั้งได้

วัสดุฝ้าเพดานที่เหมาะสมคือแผ่นยิปซัม เนื่องจากต้องมีการเจาะฝ้าเพื่อติดตั้งพัดลมระบายอากาศ หากเป็นแผ่นไม้ แผ่นฝ้าสมาร์ทบอร์ด ก็สามารถทำได้ โดยปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจสอบโครงสร้างก่อนติดตั้ง

ภาพ: ลักษณะฝ้าเพดานที่เหมาะสมกับการติดตั้ง Active AIRflow™ System

       นอกจากความพร้อมดังกล่าวข้างต้น ระบบนี้จะทำงานอย่างสมบูรณ์แบบ เมื่อวัสดุผนังและฝ้าเพดานมีคุณสมบัติเป็นฉนวน เพราะจะช่วยลดการนำความร้อนเข้าสู่ภายในบ้าน ให้เป็นนวัตกรรมการอยู่อาศัยที่เสริมสร้างคุณภาพอากาศที่ดี และสภาวะสบายในการอยู่อาศัยอย่างแท้จริง

ภาพ: การถ่ายเทอากาศและระบายความร้อนออกจากตัวบ้าน

แท็กที่เกี่ยวข้อง