ปรับห้องนอนเก่าในบ้านหลังเดิม ให้รองรับผู้สูงวัย
รอบรู้เรื่องบ้าน

ปรับห้องนอนเก่าในบ้านหลังเดิม ให้รองรับผู้สูงวัย

12.2K

12 มกราคม 2567

ปรับห้องนอนเก่าในบ้านหลังเดิม ให้รองรับผู้สูงวัย

        ปรับห้องนอนเก่าในบ้านหลังเดิม ให้รองรับผู้สูงวัยหลายปีมานี้อาจจะเริ่มคุ้นหูกับคำว่า “Universal Design” กันมาบ้าง แต่ในอนาคตอันใกล้ ประโยคนี้จะกลายเป็นคำมาตรฐานที่เห็นกันโดยทั่วไป หรืออาจจะเรียกได้ว่าเป็น New Normal ใหม่ของสังคมโลก เพราะโลกของเรากำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเต็มตัว เทคโนโลยีทางการแพทย์ วิถีชีวิต เอื้ออำนวยให้ประชากรโลกมีอายุยืนยาวขึ้น ด้านการออกแบบบ้านจึงจำเป็นต้องปรับตัวให้ทันเช่นกัน

        จากเด็กเล็ก สู่วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ ลักษณะการใช้ชีวิตประจำวันสามารถลุกนั่งนอน เดินวิ่งได้อย่างคล่องตัว แต่เมื่อถึงวัยชรา อายุประมาณ 70 ปีขึ้นไป ร่างกายของมนุษย์มักจะทรุดตัวลงอย่างรวดเร็ว จากที่เคยเดินสะดวกอาจจะต้องพยุงด้วยไม้เท้าหรือจำเป็นต้องใช้รถวีลแชร์ จากที่เคยลุกนั่งนอนได้ทันที อาจจะต้องค่อย ๆ ย่อตัวลง ฟังก์ชันภายในบ้านจึงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนใหม่ เพื่อให้เหมาะสมกับผู้สูงวัยมากขึ้น  

ปรับห้องนอนสำหรับผู้สูงวัย

เตียงนอนที่ได้ระดับ

        หากห้องนอนเดิมใช้เตียงนอนต่ำหรือนอนพื้น ถึงเวลาแล้วที่จะต้องปรับเตียงนอนให้สูงขึ้นครับ โดยระดับเตียงนอนที่ดีควรมีความสูงในระยะที่ผู้นอนสามารถย่อตัวนั่งได้พอดี หรือสูงประมาณ 45-50 เซนติเมตร โดยแนะนำเตียงขนาด 3.5 ฟุต จะเหมาะสมกับการนอนคนเดียว และช่วยเรื่องการดูแลทำความสะอาดได้ง่าย เพราะหากอนาคตผู้สูงอายุไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ การดูแลเรื่องสุขภาพอนามัยเตียงนอนเล็กจะง่ายกว่าเตียงนอนใหญ่มาก

        การวางเตียงไม่ควรวางชิดผนัง แต่ควรเว้นข้างเตียงทั้ง 2 ด้านให้ห่างจากผนังประมาณ 100 เซนติเมตร เพื่อให้ผู้ดูแลสามารถเข้าถึงได้ทั้งสองข้างและรองรับกับรถวีลแชร์เข้าออก ใต้เตียงด้านข้างควรติดไฟอัตโนมัติไว้ เผื่อผู้สูงอายุลุกเข้าห้องน้ำในเวลากลางคืน ไฟจะถูกเปิดขึ้นอัตโนมัติเมื่อมีการเคลื่อนไหว ช่วยลดอุบัติเหตุจากการสะดุดหกล้มได้ดี

        กรณีผู้สูงอายุไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ หรือจำเป็นต้องใช้รถวีลแชร์ การเลือกเตียงนอนปรับระดับได้ ย่อมเป็นตัวเลือกเสริมที่อำนวยความสะดวกกับผู้ใช้งานและผู้ดูแลได้เป็นอย่างดีครับ โดยเตียงนอนลักษณะนี้จะมีรีโมทที่คอยควบคุมการทำงาน ช่วยให้ลุกนั่งได้อัตโนมัติ
​​​​​​​

แสงสว่างเพื่อเข้าห้องน้ำในตอนกลางคืน
        แสงสว่างจำเป็นในการมองเห็นของผู้สูงอายุ นอกจากเวลากลางวันที่เรานิยมให้แสงสว่างส่องเข้ามาภายในห้องนอน เพื่อกระตุ้นสมองของผู้สูงอายุแล้วนั้น แสงสว่างในยามค่ำคืนจึงจำเป็นอย่างมากที่ช่วยในการมองเห็น เมื่อต้องลุกเดินเพื่อเข้าห้องน้ำในตอนกลางคืน โดยแสงสว่างควรเป็นแบบไฟหลืบ หรือแสงแบบ Indirect Light เพื่อไม่ให้แยงตา จนทำให้กลับมาหลับได้ยาก นอกจากนั้นหากเป็นสวิตท์ที่จับความเคลื่นไหวจะยิ่งช่วยอำนวนความสะดวกในการเปิดปิด เพียงแค่เดินผ่านก็จะทำให้ไฟสว่างขึ้นเองได้อีกด้วย อาจจะเป็นโคนไฟขนาดเล็ก หรือไฟเส้น LED Strip ติดบริเวณใต้เตียง หรือเฟอร์นิเจอร์เพื่อให้ความสว่างที่พื้นอย่างเพียงพอ

เก้าอี้สุขาเคลื่อนที่
        สำหรับบางท่านที่ต้องการความสะดวกในการปัสสาวะในตอนกลางคืน แต่ไม่สะดวกที่จะเดินไปเข้าห้องน้ำ หรือ ห้องน้ำอยู่ไกลจนเกินไป แนะนำให้วางเก้าอี้สุขาเคลื่อนที่เพื่อช่วยในการอำนวความสะดวก นอกจากนั้นปัจจุบันมีให้เลือกหลากหลายแบบและขนาด เพื่อให้เหมาะกับการใช้งานของแต่ละท่านอีกด้วย

พื้นห้องนอนลดแรงกระแทก

        โดยปกติผู้สูงอายุจะนิยมนอนชั้นล่าง เนื่องด้วยไม่ต้องการเดินขึ้นลงบันได (เว้นแต่บ้านหลังดังกล่าวจะมีลิฟท์บ้านหรือติดตั้งลิฟท์บันไดเสริม) และพื้นชั้นล่างมักนิยมปูพื้นด้วยงานกระเบื้องหรือแกรนิโต้ เพราะต้องการป้องกันความเปียกชื้น และดูแลทำความสะอาดง่าย

        การปูพื้นด้วยกระเบื้องสำหรับชั้นล่างเป็นสิ่งที่เหมาะสมสำหรับบ้านทั่วไปแล้วครับ แต่ข้อเสียของพื้นกระเบื้องจะให้สัมผัสเท้าที่เย็นมาก โดยปกติผู้สูงอายุจะหนาวเย็นได้ง่ายกว่าวัยหนุ่มสาว อีกทั้งพื้นกระเบื้องยังให้สัมผัสที่แข็งกระด้างและลื่นง่าย หากเกิดอุบัติเหตุหกล้มจะยิ่งทำให้บาดเจ็บหนักยิ่งกว่าเดิม

        ปัจจุบันจึงมีตัวเลือกเสริม “พื้นลดแรงกระแทก” ซึ่งกำลังได้รับความนิยมสูงมาก อย่างพื้นลดแรงกระแทก Peel & Place จาก Habiimat ผลิตจากวัสดุประเภทโพลิมอร์ที่ให้สัมผัสนุ่มสบายเท้า ลดแรงกระแทกได้ดี ไม่รู้สึกถึงความเย็นหรือความชื้น ทำความสะอาดได้ง่าย มีลวดลายไม้เป็นธรรมชาติแต่ปลวกไม่กิน ทนน้ำได้ดีด้วย

ภาพ : ตัวอย่างการใช้พื้นลดแรงกระแทก Peel & Place ในห้องนอน

ภาพ : ตัวอย่างการใช้พื้นลดแรงกระแทก Peel & Place ในห้องนอน

        ตัววัสดุออกแบบมาให้เป็นแผ่นใหญ่ขนาด 1.5 เมตรและยาว 5-10 เมตร จึงลดรอยต่อ ที่สำคัญสุด การติดตั้งไม่จำเป็นต้องใช้กาว เพราะมีเทคโนโลยีสุญญากาศ ติดตั้งทับพื้นเดิมได้โดยไม่ใช้กาว ไม่จำเป็นต้องรื้อพื้นเดิมออก สะดวก รวดเร็ว ไร้กลิ่น ไม่มีเสียงจากการทำงานรบกวน สามารถใช้งานได้ทันทีหลังติดตั้งเสร็จ และเมื่อไหร่ที่ไม่ใช้แล้วก็สามารถลอกออกได้โดยยังคงสภาพพื้นเดิมชั้นล่างไว้ จึงเหมาะกับนำมาใช้ร่วมกับบ้านหลังเดิมได้ทันทีครับ

7 คุณสมบัติเด่น พื้นลดแรงกระแทก Peel & Place จาก Habiimat

· ช่วยลดแรงกระแทกหากเกิดอุบัติเหตุหกล้ม ลดแรงกระแทกของข้อเท้าขณะเดิน ดีกว่าพื้นทั่วไป 1-3 เท่า
· พื้นผิวไม่ลื่นตามมาตรฐาน R10 ช่วยลดอุบัติเหตุแม้พื้นจะเปียกน้ำ
· ให้สัมผัสที่นุ่มเท้า นุ่มแต่ไม่ยวบยาบ ไม่เย็นชื้นและไม่เย็นฝ่าเท้า
· แผ่นยาวต่อเนื่องจึงลดรอยต่อ ลดจุดกักเก็บฝุ่นหรือสิ่งสกปรก ทำความสะอาดง่าย
· ติดตั้งง่ายโดยไม่ต้องใช้กาว สามารถปูทับพื้นเดิมได้ทันทีโดยไม่ต้องรื้อพื้นเก่าออก
· ไม่มีส่วนผสมที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ตามมาตรฐาน
· ผิวสัมผัสและลวดลายสวยงามเสมือนไม้จริง แต่ปลวกไม่กิน ทนน้ำ ไม่ยืดหดตัวง่าย อายุใช้งานยาวนานกว่า 10 ปี

ภาพ : ตัวอย่างการปูทับพื้นกระเบื้องเดิม

        นอกจากนี้ พื้นลดแรงกระแทกยังเหมาะกับพื้นบ้านส่วนอื่นๆที่ผู้สูงวัยใช้งานเป็นประจำ เพื่อช่วยบรรเทาความรุนแรงหากเกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดฝันในบริเวณบ้านได้อีกด้วย เช่น ห้องนั่งเล่น ห้องรับประทานอาหาร 

ภาพ : ตัวอย่างการใช้พื้นลดแรงกระแทก Peel & Place ในห้องนั่งเล่น

ภาพ : ตัวอย่างภาพการติดตั้งพื้นลดแรงกระแทก Peel & Place บนพื้นที่จริง

ประตูบานเลื่อนภายในบ้าน

        สำหรับห้องนอนที่ผู้สูงอายุใช้เป็นประจำ สามารถเพิ่มความเป็นส่วนตัวให้ผู้สูงอายุได้เป็นอย่างดี ดังนั้นประตูจึงเป็นสิ่งสำคัญ หากเป็นประตูแบบเดิมอาจจะเกิดอันตรายได้จากทั้งขนาด บานประตูกระแทก ระบบล็อคที่หมุนยาก ต้องออกแรงเยอะ ดังนั้นประตูห้องนอนสามารถเปลี่ยนให้เป็นระบบประตูบานเลื่อน ควรมีความกว้างพอสมควรหากต้องรองรับการใช้งานของรถเข็น มือจับประตูมีขนาดเหมาะสม ใช้แรงน้อยในการเปิดปิด ไม่ลื่นมือ และไม่มีเหลี่ยมมุมที่อาจทำให้เกิดอันตรายจากการล้มกระแทกหรือเกี่ยวเสื้อผ้า และที่สำคัญใช้เป็นระบบรางแขวนด้านบน เพื่อไม่ให้มีธรณีประตูหรือรางกีดขวางด้านล่าง ช่วยลดโอกาสการสะดุดหกล้มได้อีกด้วย

ภาพ : ตัวอย่างภาพการติดตั้งพื้นระบบประตูบานเลื่อน Habiimat

ห้องนอนโปร่ง สว่าง อากาศถ่ายเทดี

        ผู้อยู่อาศัยวัยทั่วไปมีโอกาสได้ใช้ห้องนอนเฉพาะช่วงเวลากลางคืน แต่สำหรับผู้สูงวัยอาจต้องใช้ห้องนอนตลอด 24 ชั่วโมง ห้องนอนที่ดีจึงจำเป็นต้องปลอดโปร่ง โล่งสบาย สามารถรับแสงสว่างจากภายนอก เพื่อให้แสงช่วยกำจัดความชื้น ขจัดเชื้อแบคทีเรียสะสม หากผู้สูงวัยไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ผู้ดูแลต้องหมั่นเปิดหน้าต่างเพื่อรับแสงแดดในทุกๆ เช้า

        ควรเลี่ยงการใช้ม่านที่ปิดทึบเพราะจะทำให้ห้องมืดดูอึดอัด แต่ให้เลือกใช้ม่านบางสีขาวโปร่ง หรือหากห้องนอนเดิมมีหน้าต่างปริมาณน้อย ทำให้ดูอึดอัดแสงสว่างไม่เพียงพอ การพิจารณารีโนเวทบ้านเป็นบางจุด เพื่อให้มีช่องหน้าต่างที่กว้างขึ้น ให้ผู้สูงอายุมองเห็นสวน มองเห็นพื้นที่ภายนอกขณะอยู่อาศัยในห้อง ย่อมคุ้มค่าต่อการปรับปรุง

        สำหรับผู้ที่สนใจปรับพื้นที่ภายในห้องนอนให้เหมาะกับผู้สูงวัย สามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ และรับบริการติดตั้ง ได้ที่ร้าน Chivit-D by SCG   ไลฟ์สไตล์ช้อป และ คอมมูนิตี้ "เพื่อน" รุ่นใหญ่วัยอิสระ ที่จำหน่ายสินค้าเพื่อผู้สูงอายุ ที่คัดสรรสินค้าและบริการ ให้ผู้บริโภครุ่นใหญ่วัยอิสระและครอบครัว สามารถใช้ชีวิตได้อย่างปลอดภัย สุขภาพดี และมีความสุข ติดต่อ 098 282 1883 หรือ  Line: @ChivitDbySCG และสามารถไปชมสินค้าพร้อมรับคำแนะนำเบื้องต้นได้ที่ร้าน Chivit-D by SCG ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ไลฟ์สโตร์ งามวงศ์วาน ชั้น 6