5 ขั้นตอนแก้ปัญหาเสียงดังจากเครื่องจักรในโรงงาน
เคล็ดลับน่ารู้

5 ขั้นตอนแก้ปัญหาเสียงดังจากเครื่องจักรในโรงงาน

14.2K

12 มกราคม 2567

5 ขั้นตอนแก้ปัญหาเสียงดังจากเครื่องจักรในโรงงาน

"ปัญหาเสียงดังในโรงงานซึ่งมีระดับเสียงดังเกินกว่ามาตรฐานกำหนด นับเป็นมลพิษทางเสียงที่ก่อให้เกิดความรำคาญ อีกทั้งมีผลกระทบต่อสุขภาพของพนักงานที่ต้องทำงานในโรงงานและคนในชุมชนที่อยู่ใกล้เคียงโรงงาน ซึ่งต้องหามาตรการในการป้องกันและแก้ไขอย่างเร่งด่วน"

       ส่วนใหญ่ปัญหาเรื่องเสียงดังในโรงงานเกิดจากการทำงานของตัวเครื่องจักร ซึ่งจากประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เกี่ยวกับมาตรฐานระดับเสียงที่ยอมให้ลูกจ้างได้รับเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทำงานในแต่ละวัน (8 ชั่วโมง) นั้น จะต้องมีค่าระดับเสียงเฉลี่ยตลอดเวลาการทำงาน หรือ Time Weighted Average (TWA) ไม่เกิน 85 เดซิเบล ซึ่งหากค่าระดับเสียงเกินกว่านี้ ทางผู้ประกอบการหรือนายจ้างต้องจัดให้มีมาตรการในการป้องกันการได้ยินในสถานประกอบกิจการตามหลักเกณฑ์และวิธีการ เช่น การเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ป้องกันต่างๆ ให้กับพนักงานในโรงงาน ไม่ว่าจะเป็น ที่ครอบหู เอียปลั๊ก เป็นต้น รวมถึงหาแหล่งกำเนิดเสียงที่เป็นปัญหาและหาแนวทางแก้ไขเพื่อลดเสียงอย่างเร่งด่วนโดยอาศัยความชำนาญเฉพาะทางด้านอะคูสติก ให้ช่วยลดผลกระทบต่อพนักงานในโรงงานเองรวมถึงคนในชุมชนใกล้โรงงาน เพราะหากเสียงดังจนกระทบต่อการอยู่อาศัยของชุมชนใกล้เคียงแล้ว อาจเกิดการร้องเรียนขึ้นจนถึงขั้นต้องปิดโรงงานได้

ครั้งนี้ เอสซีจีมีตัวอย่างการแก้ปัญหาเรื่องเสียงดังภายในโรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์แห่งหนึ่ง ที่ได้รับการร้องเรียนจากชุมชนใกล้เคียงให้ปิดโรงงาน เนื่องจากเสียงดังรบกวนและก่อให้เกิดความรำคาญ ซึ่งทางเอสซีจีได้มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา โดยมีขั้นตอนดังนี้

       1. ขั้นตอนแรก เริ่มจากทีมงานวิศวกรเข้าไปสำรวจพื้นที่โดยรอบ พบว่าระยะห่างระหว่างชุมชนใกล้เคียงกับโรงงานนั้นอยู่ห่างกัน 3 เมตร

จากการสำรวจพื้นที่พบว่า โรงงานกับชุมชนมีระยะห่างกัน 3 เมตร

       2. ทำการวัดเสียงภายในและภายนอกโรงงาน ค่าที่วัดได้คือ ภายใน 88 dBA ส่วนภายนอก 67 dBA ซึ่งถือว่าเสียงดังเกินกว่าที่เกณฑ์กำหนด

ผู้เชี่ยวชาญทำการวัดเสียงภายในและภายนอกโรงงาน

       3. วิเคราะห์ปัญหาโดยการหาแหล่งกำเนิดเสียง ซึ่งจากการเข้าไปสำรวจพบเกิดจากเครื่องปั๊มโลหะ

จากการสำรวจแหล่งกำเนิดเสียง พบว่าเกิดจากเครื่องปั๊มโลหะ

       4. ป้องกันและลดเสียงลง โดยให้เสียงที่วัดได้ภายในโรงงาน ไม่เกินเกณฑ์ 85 dBA ทางทีมวิศวกรผู้เชี่ยวชาญด้านอะคูสติก (Acoustic expert) ได้มีการวิเคราะห์ปัญหาโดยรวมและพบว่า ส่วนของหลังคาโรงงานซึ่งเลือกใช้หลังคาเมทัลชีททำให้เสียงก้องมากยิ่งขึ้น จึงพิจารณาแนวทางแก้ไขว่าต้องติดตั้งวัสดุอะคูสติกสำหรับดูดซับเสียงรุ่น Cylence Zoftone บริเวณด้านในโรงงานทั้งบริเวณผนังและฝ้าเพดาน เพื่อลดเสียงจากเครื่องปั๊มโลหะ

ส่วนฝ้าเพดาน ใช้วิธีผูกลวดโดยใช้ลวดเบอร์ 16 ระยะห่าง 20- 30 ซม. และติดตั้งฉนวนดูดซับเสียง รุ่น  Cylence Zoftone เพื่อช่วยลดการสะท้อนของเสียงบริเวณฝ้าเพดาน
ส่วนผนังติดตั้งฉนวนดูดซับเสียง โดยยึดด้วย Spindle pin ช่วยดูดซับเสียงและลดเสียงบริเวณผนัง

       5. ทำการวัดเสียงอีกครั้ง หลังจากการติดตั้งวัสดุอะคูสติก รุ่น Cylence Zoftone ทั้งบริเวณฝ้าเพดานและผนังเรียบร้อยแล้ว ผลที่ได้ภายในโรงงานวัดได้ 84 dBA จากเดิม 88 dBA ลดลง 4 dBA ส่วนภายนอกโรงงานวัดได้ 57 dBA จากเดิม 67 dBA ลดลง 10 dBA

       ผลที่ได้หลังจากติดตั้งฉนวนดูดซับเสียงเรียบร้อยแล้ว สามารถลดความดังเสียงเครื่องปั๊มโลหะที่สะท้อนอยู่ภายในโรงงานและลดเสียงภายนอกลงได้ และไม่มีการร้องเรียนจากชุมชนใกล้เคียงอีกต่อไป

       หากสนใจและต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดต่อวิศวกรผู้เชี่ยวชาญด้านอะคูสติกได้ที่ คุณณัฐคม สุวรรณกุล 085-488-2527 ค่ะ

แท็กที่เกี่ยวข้อง