รู้หรือไม่?  บล็อกปูพื้น และ กระเบื้องปูพื้น แตกต่างกันอย่างไร
เคล็ดลับน่ารู้

รู้หรือไม่? บล็อกปูพื้น และ กระเบื้องปูพื้น แตกต่างกันอย่างไร

39.2K

12 มกราคม 2567

รู้หรือไม่?  บล็อกปูพื้น และ กระเบื้องปูพื้น แตกต่างกันอย่างไร

        วัสดุสำหรับปูพื้นตกแต่งสวนภายนอกที่เป็นแผ่นสำเร็จรูปจริงๆ แล้วมีอยู่หลายประเภท ซึ่งวัสดุปูพื้นชนิดสำเร็จรูปที่พบในท้องตลาดแบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ ได้แก่ บล็อกปูพื้น และกระเบื้องปูพื้น  เชื่อว่าหลายๆคนคงมีความสงสัยว่ามันแตกต่างกันอย่างไรเราจะมาทำความรู้จักกับวัสดุทั้ง 2 ชนิด ให้มากขึ้นเพื่อให้สามารถเลือกใช้ได้อย่างเหมาะสมกับพื้นที่ 

        “บล็อกปูพื้น”  หรือที่หลายๆคนเรียกกันจนติดปากว่า บล็อกตัวหนอน หรือ อิฐตัวหนอน ผลิตจากคอนกรีต โดยมี หิน ปูน ทราย เป็นองค์ประกอบหลัก  ก้อนบล็อกปูพื้นประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ ชั้นตัวก้อนเป็นส่วนล่าง และชั้นผิวหน้าหรือชั้นสี เป็นชั้นส่วนผิวหน้า ตามมาตรฐานของเอสซีจีจะผสมสีในเนื้อคอนกรีตและชั้นผิวหน้ามีความหนาประมาณ 4 มม. จึงทำให้สีมีความคงทน ชั้นผิวหน้ามีความหนาประมาณ 4 มม. ผลิตโดยระบบ Dry Process ด้วยเครื่องจักรกำลังอัดสูง จึงมีความแข็งแรงสามารถรับน้ำหนักได้สูง ถึง350 KSC (กิโลกรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร)

        มีขนาดตั้งแต่ 8x8 เซนติเมตร จนถึงขนาดใหญ่ 40x80 เซนติเมตร ความหนาของบล็อกปูพื้นมีตั้งแต่ 6-12 เซนติเมตร  และมีรูปทรงของตัวก้อนหลากหลายโดยส่วนใหญ่จะใช้เรียงต่อกันจนเกิดเป็น pattern ลวดลายที่สวยงาม และยังมีรุ่นอื่นที่ออกแบบมาให้สามารถปลูกหญ้า หรือ มีคุณสมบัติในการ ลดความร้อน อย่างเช่น รุ่น Cool Plus และน้ำสามารถไหลผ่านได้ระบายน้ำเร็วอย่าง porous block ของ เอสซีจี   

        สีสันและผิวหน้าของบล็อกปูพื้น ผิวหน้าจะมีความละเอียดน้อยกว่ากระเบื้องซีเมนต์ปูพื้นเนื่องจากกรรมวิธีการผลิตแบบ Dry Process  และส่วนใหญ่ใน 1 ก้อนจะมีสีเดียวทั้งก้อน Single Tone ไม่มีการทำลวดลายจากสี โดย  เอสซีจีได้มีการออกแบบและพัฒนาผิวหน้าของก้อนบล็อกปูพื้น ให้มีความหลากหลาย เช่น ผิวหน้ามีความขรุขระแหมือนผิวหินในรุ่น Rocky Block   หรือมีผิวหน้าโชว์เม็ดหินคล้ายกรวดล้างในรุ่น Sakura block และ Laguna Maldives

สรุปข้อดีและข้อด้อยของบล็อกปูพื้น
ข้อดี
        - แข็งแรงทนทานอายุการใช้งานยาวนาน
        - สามารถรับน้ำหนักได้มาก จึงใช้งานหนักๆอย่าง เช่น ถนนได้ 
        - มีรูปทรงหลากหลายสามารถสร้าง Pattern ลวดลายได้ไม่จำกัด
        - มีบล็อกที่มีคุณสมบัติพิเศษให้เลือกใช้ เช่น ปลูกหญ้าได้ ช่วยลดอุณหภูมิได้
        - สามารถรื้อปรับปรุงซ่อมแซมพื้นทางได้โดยใช้วัสดุก้อนเดิมประหยัดค่าใช้จ่าย
ข้อด้อย
        - มีรอยต่อระหว่างก้อนค่อนข้างมาก
        - วัชพืชมักเกิดขึ้นตามรอยต่อของสินค้า (สามารถป้องกันได้)
        - สีสันเป็นสีเดียวทั้งก้อน

        กระเบื้องซีเมนต์ปูพื้น  มีการเรียกชื่อหลายอย่างสำหรับวัสดุชนิดนี้ เช่น แผ่นปูพื้น, แผ่นทางเท้า, กระเบื้องปูพื้นภายนอก หรือกระเบื้องแต่งสวนเป็นต้น กระเบื้องซีเมนต์ปูพื้นผลิตจากซีเมนต์เป็นส่วนผสมหลัก ตัวแผ่นกระเบื้องประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก คือ ตัวก้อน และชั้นผิวหน้าหรือชั้นสีที่ความหนาประมาณ 5 มม.  จึงทำให้สีมีความคงทน กระเบื้องซีเมนต์ปูพื้น เอสซีจี ผ่านการทดสอบด้วยการรับแรงอัดตามขวาง (Transverse strength) รับแรงดัดได้ประมาณ 3-5 MPa ตามมาตรฐาน มอก. 

        ขนาดของกระเบื้องปูพื้นที่นิยมมากที่สุด คือ ขนาด 40x40 เซนติเมตรและขนาด 30x60 เซนติเมตร  ส่วนขนาดอื่นๆในท้องตลาดมีตั้งแต่ 10x10 , 20x20,30x30 ตลอดจน 60x60เซนติเมตร เป็นต้น  ความหนาของแผ่นกระเบื้องซีเมนต์ปูพื้น จะบางกว่าบล็อกปูพื้น โดยมีความหนา 3.5-4 เซนติเมตร  ในส่วนของรูปทรงของแผ่นกระเบื้องส่วนใหญ่เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส และสี่เหลี่ยมผืนผ้า เนื่องจากว่าสามารถปูต่อชนกันได้ง่าย ซึ่งในปัจจุบันมีการออกแบบรูปทรงกระเบื้องมาให้เลือกใช้หลากมากขึ้น ทั้งทรงกลม ทรงหกเหลี่ยม หรือรูปทรงเลียนแบบใบไม้ เป็นต้น

        สีสันและผิวหน้าของกระเบื้องคอนกรีตปูพื้น ผิวหน้าแผ่นกระเบื้องจะมีความละเอียดเนื้อเนียนกว่าบล็อกปูพื้น และมีสีสันมีลวดลายที่สวยงาม  เนื่องจากจะมีกระบวนการในการทำสีและลวดลายที่ผิวหน้าเข้ามาเพิ่มเติม  เอสซีจี ได้มีการพัฒนาเรื่องการสร้างสีและลวดลายที่เสมือนจริงบนผิวหน้ากระเบื้อง ด้วยเทคโนโลยี  UVT  Ultimate Virtual Technology  ทำให้กระเบื้องปูพื้นเอสซีจี มีลวยลายสีสันที่สวยงามเสมือนจริง และยังคนทนอีกด้วย  สำหรับการใช้งานกระเบื้องซีเมนต์ปูพื้น สามารถใช้ปูตกแต่งภายนอก ทั้งทางเดินในสวนลานพักผ่อน ตลอดจนถึงงานพื้นที่รับน้ำหนักปานกลางเช่น ลานจอดรถในบ้าน แต่ไม่เหมาะสำหรับการนำไปทำถนนรถวิ่งที่รับน้ำหนักสูง 


สรุปข้อดีและข้อด้อยของกระเบื้องซีเมนต์ปูพื้น
ข้อดี
        - มีสีสันและลวดลายสวยงาม 
        - แผ่นมีขนาดใหญ่ จึงมีรอยต่อน้อย 
        - ปูชนชิดแนบสนิทไม่มีร่องระหว่างก้อน
        - สามารถใช้งานตกแต่งพื้นภายนอกทั้งประเภทตกแต่งสวน พื้นที่รอบๆบ้าน
        - สามารถใช้งานที่รับน้ำหนักปานกลางได้ เช่น พื้นลานจอดรถ (ต้องปูด้วยมอร์ต้าบนพื้นคอนกรีต)
ข้อเสีย
        - รับน้ำหนักได้น้อยกว่าบล็อกปูพื้น
        - ไม่เหมาะกับงานรับน้ำหนักมาก เช่น งานประเภทถนน

        อย่างไรก็ดีวัสดุปูพื้นทั้ง 2 ชนิด ก็มีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกัน ควรเลือกวัสดุปูพื้นที่เหมาะสมกับการใช้งานโดยคำนึงถึงองค์ประกอบด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ด้านลักษณะการใช้งาน  ความเหมาะสมในการติดตั้งที่เข้ากับพื้นที่ รูปแบบหรือสไตล์ที่เข้ากับความงามของสถาปัตยกรรมโดยรอบ เป็นต้น  



        สามารถค้นหาไอเดียแต่งบ้านเพิ่มเติม ได้ที่ Instagram : SCG.Brand