เอสซีจี นำเทคโนโลยีก่อสร้างโมดูลาร์และระบบสร้างอากาศสะอาดปลอดภัย
จาก SCG Bi-ion ร่วมสร้างห้อง ICU เพื่อรองรับผู้ป่วยวิกฤตโควิดในโรงพยาบาล

        จากสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ในประเทศ ในปี 2564 ทำให้ผู้ป่วยที่มีอาการในระดับรุนแรงมีจำนวนเพิ่มขึ้นมากในเวลานั้น ทำให้เอสซีจีมีความจำเป็นเร่งด่วนในการนำนวัตกรรมมาออกแบบและพัฒนาห้องไอซียูโมดูลาร์ เพื่อขยายขีดความสามารถในการรองรับผู้ป่วยขั้นวิกฤตจากการติดเชื้อ Covid-19 ให้ตอบโจทย์สถานการณ์ขาดแคลนพื้นที่ในการรักษาผู้ป่วยหนัก เนื่องจากสามารถออกแบบและก่อสร้างได้อย่างรวดเร็วจากการผลิตชิ้นส่วนต่าง ๆ จากโรงงานมาประกอบหน้างาน โดยระบบ Modular สามารถควบคุมคุณภาพงานก่อสร้างตั้งแต่การออกแบบจนถึงการผลิตจากโรงงานเพื่อมาประกอบบริเวณหน้างานได้อย่างมีมาตรฐาน ซึ่งห้องไอซียูโมดูลาร์ถูกออกแบบตามฟังก์ชั่นการทำงานของข้อกำหนดห้อง ICU  ที่มีทีมแพทย์เป็นที่ปรึกษา โดยห้องสามารถควบคุมแรงดันอากาศได้เหมาะสม ทั้งระบบความดันบวก (POSITIVE PRESSURE ROOM) เพื่อกำจัดเชื้อโรคและฝุ่น และระบบความดันลบ (NEGATIVE PRESSURE ROOM) เพื่อจำกัดการแพร่กระจายและลดเชื้อไวรัสออกสู่ภายนอกอาคาร นอกจากนี้ได้มีการนำเทคโนโลยี SCG Bi-ion เข้ามาใช้ในห้อง ICU เพื่อกำจัดเชื้อโรคให้อากาศสะอาดปลอดภัยยิ่งขึ้น

        โดยมีการก่อสร้างในหลายโรงพยาบาล เช่น โรงพยาบาลราชวิถี โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ โรงพยาบาลสระบุรี และโรงพยาบาลอภัยภูเบศวร

พื้นที่การใช้งานแบ่งพื้นที่ออกเป็น 5 ส่วน 
  1.ICU ZONE สำหรับเตียงผู้ป่วยพร้อมบอกตำแหน่งระบบยังชีพต่าง ๆ ที่จะเชื่อมต่อกับระบบของโรงพยาบาล โดยระบบการจัดการอากาศใน zone นี้ใช้ระบบห้องความดันลบ (NEGATIVE PRESSURE ROOM) 
2.NURSING STATION ZONE สำหรับพยาบาลที่ดูแลผู้ป่วย โดยแบ่งเป็น MONITOR ROOM สำหรับพยาบาลที่ดูแลเฝ้าระวัง และ STAND-BY ROOM สำหรับพยาบาลที่เตรียมสวมชุด PPE พร้อมสำหรับเข้าไปดูแลผู้ป่วย ICU โดยระบบการจัดการอากาศใน zone นี้ใช้ระบบห้องความดันบวก (POSITIVE PRESSURE ROOM) 
3.MEDICAL PREPARATION สำหรับจัดเก็บเครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์ต่างๆ สำหรับผู้ป่วย  
4.ANTE ROOM ขาเข้าสำหรับควบคุมความดันก่อนเข้าสู่พื้นที่ ICU Zone
5.ANTE ROOM ขาออกแบ่งเป็น 3 ส่วน 1. พื้นที่ลำเลียงผู้ป่วยเข้าและออกจากพื้นที่ ICU 2. สำหรับทิ้งขยะติดเชื้อต่าง ๆ 3. ถอดชุด PPE พร้อมทางเดินไปสู่ห้องน้ำเพื่อทำความสะอาดร่างกายเมื่อเสร็จสิ้นการปฏิบัติหน้าที่

โดยระบบการจัดการอากาศปลอดเชื้อแบ่งเป็น 2 ระบบ

1.ระบบปรับอากาศและจัดการอากาศแบบครบวงจรโดยแยกระบบอากาศ ของบุคลากรทางการแพทย์และคนไข้ออกจากกันโดยเด็ดขาด เพื่อป้องกันการปนเปื้อนและการติดเชื้อโดย
   a.อากาศเข้า unit จะผ่านการกรองอากาศและฆ่าเชื้อด้วย HEPA FILTER, UV LIGHT และ SCG Bi- ion  เพื่อควบคุมคุณภาพอากาศให้เป็นไปตามมาตรฐานห้อง ICU
   b.อากาศออกจาก unit ในฝั่งของคนไข้เป็นอากาศที่มีเชื้อโรคปนเปื้อน จะผ่านการกรองและฆ่าเชื้อโรคก่อนถูกปล่อยออกสู่ภายนอกอาคาร
   c.การควบคุมความดัน ICU ZONE ใช้ระบบความดันลบ และ NURSING STATION ZONE ใช้ระบบความดันบวก 

2.ระบบไฟฟ้าและเชื่อมต่ออุปกรณ์และระบบสนับสนุนทางการแพทย์ใช้มาตรฐาน ICU ประกอบด้วย
   2.1 ตามข้อกำหนดมาตราฐานการติดตั้งไฟฟ้าบริเวณสถานพยาบาล ระบบไฟฟ้า ICU เป็นระบบไฟฟ้าพิเศษที่แยกออกจากระบบไฟฟ้ารวมอื่น ๆ ในกรณีที่เกิดข้อผิดพลาดจากระบบไฟฟ้า เช่น ฟ้าผ่า หรือ ไฟช็อต ระบบยังคงจ่ายไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่อการดูแลผู้ป่วยต่อไปได้ นอกจากนี้ยังมีระบบไฟสำรองเพื่อใช้ไฟฟ้าในกรณีฉุกเฉินอีกด้วย
   2.2 เชื่อมต่ออุปกรณ์และระบบสนับสนุนทางการแพทย์ตามมาตรฐาน ICU 
     • ระบบแก๊สบริเวณหัวเตียงประกอบด้วย หัวจ่ายอากาศ หัวจ่าย Oxygen หัวจ่าย Vacuum และช่องเสียบอุปกรณ์ ซึ่งควบคุมด้วยระบบ regulator valve & alarm ตามมาตราฐานห้อง ICU 
     • ระบบอุปกรณ์ทางการแพทย์อื่นๆ เช่น การเชื่อมต่อเครื่องช่วยหายใจ (high flow ventilator)ระบบน้ำประปาและน้ำเสียรองรับการฟอกไต ระบบดูดอากาศที่หัวเตียง เพื่อควบคุมทิศทางการไหลของอากาศ ลดการกระจายเชื้อ, ระบบ CCTV และ intercom เพื่อสื่อสารระหว่างเตียงผู้ป่วยและติดตามอาการกับ Nurse station และระบบแสงสว่างที่เพียงพอในการทำหัตถการ 



3829   Favorite   Print   Share  
            Change Password Change Password link-social signin-popupnew downloadplan-popupnew